ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากเกินไปในวัยเด็กเรียกว่า ไจแกนทิซึม( gigantism) พบในวัยรุ่น ไม่ค่อยพบในวัยเด็ก อาจเกิดจากการที่มีเนื้องอกของเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน (somatotroph) หรือของไฮโพทาลามัส

Josef Schippers

ชายที่ได้รับโกรทฮอร์โมนมากเกินไปในวัยรุ่นทำให้มีสภาพร่างยักษ์ (gigantism) เมื่อเทียบกับชายในวัยเดียวกัน

 

       ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งวัยนี้ปลายกระดูกปิดแล้ว ทำให้มีการขยายตัวของกระดูกอ่อนที่ยังปรากฏอยู่ เช่น ที่หน้า มือ เรียกภาวะนี้ว่า อะโครเมกาลี (acromegaly)

 

 

 

    การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่เป็นอะโครเมกาลี จากภาพจะเห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วัยเด็ก (13 ปี 21 ปี จนถึงอายุ35)  ให้สังเกตกระดูกเหนือคิ้ว แก้ม ขากรรไกร จะเห็นว่าเจริญมากกว่ากระดูกที่อื่น ซึ่งเกิดจากกระดูกเหล่านี้ตอบสนองโกรทฮอร์โมนในวัยผู้ใหญ่มากเกินไป

 

 

ผู้ป่วยอะโครเมกาลี หน้าใหญ่ขึ้น มือใหญ่ขึ้นมากเมื่อเทียบกับมือคนปกติ

 

       ความผิดปกติจากการขาดหรือการสร้างโกรทฮอร์โมนมากเกินไป สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ซึ่งถ้ารักษาตั้งแต่อายุยังน้อยก็จะได้ผลมากกว่า