คาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลักของสารอินทรีย์ทั้งหมด ดังนั้นวัฏจักรคาร์บอนจึงเกิดควบคู่กับวัฏจักรพลังงานในระบบนิเวศ



         การสังเคราะห์ด้วยแสงโดยพืช  สาหร่าย  แพลงก์ตอนพืชและแบคทีเรีย   ใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 
และให้ผลผลิตเป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลและเมื่อมีการหายใจ  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อย
ออกสู่บรรยากาศอีกครั้ง แม้ว่าในบรรยากาศจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 0.03% แต่การสังเคราะห์ด้วย
แสงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศไปถึง 1 ใน 7 ในขณะเดียวกันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จาก
การหายใจก็ชดเชยส่วนที่หายไปคืนสู่บรรยากาศ ทำให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศคงที่
ตลอดเวลา

       ในแต่ละฤดูกาล  ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย  ก๊าซคาร์บอน
ไดออกไซด์มีความเข้มข้นต่ำที่สุดในช่วงฤดูร้อนในซีกโลกเหนือและสูงสุดในช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้เนื่องจากใน
ซีกโลกเหนือมีแผ่นดินซึ่งมีพืชพรรณ และมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่มสูงในฤดูร้อน และมีอัตราการ
หายใจเพิ่มในฤดูหนาวนั่นเอง

        นอกจากนั้น  คาร์บอนยังอยู่ในรูปของสารอินทรีย์ในสิ่งมีชีวิต  เช่น  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน  
กรดนิวคลีอิก ฯลฯ ปริมาณคาร์บอนส่วนนี้หมุนเวียนในระบบนิเวศผ่านห่วงโซ่อาหาร จากผู้ผลิตไปสู่
ผู้บริโภคระดับต่างๆ  เมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงผู้ย่อยสลาย  เช่น ราและแบคทีเรียจะย่อยสลายคาร์บอนเหล่านี้
ให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  อัตราความเร็วในการหมุนเวียนในวัฏจักรของคาร์บอนแตกต่างกันไป
ตามชนิดของสารอินทรีย์  เช่นคาร์บอนในเนื้อสัตว์สามารถถูกกินและส่วนที่เหลือถูกย่อยสลายกลับสู่ระบบ
นิเวศ ได้เร็วกว่าคาร์บอนที่อยู่ในเนื้อไม้ซึ่งมีความคงทน

        ภายใต้สภาวะพิเศษบางอย่างสารอินทรีย์ที่คงอยู่ในซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันเป็นเวลานานๆ   
อาจกลายเป็นถ่านหินหรือปิโตรเลียม ซึ่งจะคงอยู่ในสภาพนั้นใต้ผิวโลกเป็นเวลาหลายล้านปี จนกว่าจะมี
ีการขุดเจาะนำขึ้นมา

         

รูปที่ 1.17 วัฏจักรคาร์บอน

 

         การเผาไหม้  (combusion)  สารอินทรีย์  เช่น  ไม้  ถ่านหินและปิโตรเลียมเปลี่ยนคาร์บอนให้เป็นก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้อย่างรวดเร็วมาก  ก๊าซคาร์ไดออกไซด์จากการเผาไหม้ในโรงงาน
อุตสาหกรรมและจากรถยนต์อาจทำให้ปริมาณก๊าซชนิดนี้ในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้น  ปริมาณก๊าซซึ่งรักษา
ระดับคงที่มาเป็นเวลาหลายพันล้านปีอาจเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่ปี และทำให้วัฏจักร
คาร์บอนในระบบนิเวศไม่สมดุลอีกต่อไป

    อย่างไรก็ตาม  ยังมีคาร์บอนปริมาณมากอีกส่วนหนึ่งสะสมไว้ในน้ำ เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน
บรรยากาศละลายน้ำหรือถูกชะล้างด้วยฝน  และกลายเป็นกรดคาร์บอนิก (carbonic acid หรือ H2CO3)  
กรดนี้สามารถทำปฏิกิริยากับแร่หินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate  หรือ CaCO3)  
 ซึ่งมีมากมายในน้ำโดยเฉพาะในมหาสมุทรเกิดเป็นไบคาร์บอเนต (bicarbonate หรือ HCO3 - ) และ
คาร์บอเนต  (carbonate หรือ CO2- ) แพลงก์ตอนพืชในทะเล สามารถใช้ไบคาร์บอเนตได้โดยตรงและ
เปลี่ยนคาร์บอนกลับเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ด้วยการหายใจอย่างช้าๆ   กระนั้นก็ตามมหาสมุทร
ก็มีคาร์บอนสะสมไว้มากถึง 50 เท่าของคาร์บอนในบรรยากาศและยังสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในบรรยากาศไว้ในรูปของไบคาร์บอเนตได้อีกบางส่วน มหาสมุทรจึงช่วยรักษาสมดุลของวัฏจักรคาร์บอนได้
ในระดับหนึ่ง