![]() |
การปริมาณไอโอดีนในเกลือ โดยวิธี Titration |
การ
Titrate หาปริมาณไอโอเดทในเกลือ |
(เกลือเสริมไอโอดีนในประเทศที่กำลังพัฒนา
จะใช้สารละลายโพแตสเซียมไอโอเดทเติมลงไปในเกลือ) |
การหาปริมาณไอโอดีนในเกลือที่อยู่ในรูปของไอโอเดท โดยวิธี titration (Demaeyer, Lowenstein, and Thilly, 1979) มีปฏิกิริยา 2 ขั้นตอน คือ |
ปฏิกิริยาขั้นแรก: เป็นการทำให้ไอโอดีนในเกลืออยู่ในรูปของไอโอดีนอิสระ (free iodine)
- เติมกรดซัลฟุริกเพื่อทำให้ไอโอดีนในเกลืออยู่ในรูปของไอโอดีนอิสระ
- เติม KI เพื่อช่วยให้ไอโอดีนอิสระละลายน้ำได้ดีขึ้น
ปฏิกิริยาขั้นที่2: เป็นการไตเตรทหาปริมาณไอโอดีนโดยใช้ไธโอซัลเฟต
- ไอโอดีนอิสระที่มีอยู่ในเกลือจะถูกใช้ไปโดยโซเดียมไธโอซัลเฟต จำนวนของไธโอซัลเฟตที่ใช้ในการไตเตรท จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณไอโอดีนที่มีอยู่ในเกลือ
- ใช้สารละลายแป้งเป็นอินดิเคเตอร์ โดยแป้งจะทำปฏิกิริยากับไอโอดีนเกิดเป็นสีน้ำเงิน ไตเตรทจนกระทั่งสีน้ำเงินหายไป แสดงว่าไอโอดีนถูกใช้โดยไธโอซัลเฟตหมดแล้ว
การไตเตรทหาปริมาณไอโอดีนในเกลือที่อยู่ในรูปของไอโอเดท มีขั้นตอนดังนี้ |
1. ชั่งตัวอย่างเกลือ 10 กรัม ใส่ในขวดรูปชมพู่ ขนาด 250 ml |
|
2. ละลายตัวอย่างเกลือด้วยน้ำกลั่น 50 ml | |
3. เติมสารละลายกรดซัลฟุริกความเข้มข้น 2 N จำนวน 1 ml | |
4. เติม 10% KI จำนวน 5 ml ถ้ามีไอโอดีน สารละลายจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง | |
5. ปิดปากขวดและนำไปเก็บในที่มืด10 นาที | |
6. เตรียมบิวเรต โดยเติม 0.005 M โซเดียมไธโอซัลเฟตลงในบิวเรต | |
7. เอาขวดออกจากที่มืด นำมาไตเตรทกับ 0.005 M โซเดียมไธโอซัลเฟต จนกระทั่งสารละลายมีสีเหลืองอ่อน | |
8. เติมสารละลายแป้ง จำนวน 2 ml (สารละลายจะมีสีน้ำเงินเข้ม) แล้วไตเตรทต่อไปจนกระทั่งสารละลายเปลี่ยนเป็นสีชมพู และจางหายไปในที่สุด | |
9. บันทึกปริมาตรของไธโอซัลเฟตที่ใช้ไปในการไตเตรท แล้วนำไปคำนวณหาปริมาณไอโอดีน |
![]() |
![]() |